วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555


สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา


                                  แบบฝึกหัดให้นิสิตนำเสนอ กำหนดส่งทาง 
                                   Weblog  ภายใน 29 ธ.ค. 2555
                                                                 
1.  สื่อมวลชนเพื่อการศึกษามีกี่ประเภทอะไรบ้าง
     ตอบ  1. สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร หนังสือ และสิ่งตีพิมพ์ประเภทอื่น ๆ
              2. ภาพยนตร์ ทั้งภาพยนตร์เรื่อง ภาพยนตร์สารคดี และ ภาพยนตร์ทางการศึกษาบางประเภท
              3. วิทยุกระจายเสียง ได้แก่วิทยุที่ส่งรายการออกอากาศ ทั้งระบบ AM และ ระบบ FM รวมไปถึงระบบเสียงตามสาย
              4. วิทยุโทรทัศน์ เป็นสื่อทางกายภาพและทางเสียงที่เผยแพร่ออกไป ทั้งประเภทออกอากาศและส่งตามสาย
              5. สื่อสารโทรคมนาคม เป็นผลจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี มีการส่งข้อความ เสียง ภาพ ตัวพิมพ์ สัญลักษณ์ ต่าง ๆ ได้หลากหลาย ครอบคลุมกิจการสื่อสารผ่านดาวเทียม โทรภาพ โทรพิมพ์
              6. สื่อวัสดุบันทึก ได้แก่เทปบันทึกเสียง เทปบันทึกภาพ แผ่นบันทึกเสียง แผ่นบันทึกภาพ ซึ่งกลายเป็นสื่อมวลชน เพราะเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้สามารถผลิตเผยแพร่ได้มากและอย่างรวดเร็

    2.  คุณค่าของสื่อมวลชนเพื่อการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
      ตอบ   วิลเบอร์ ชแรมม์ นักวิชาการด้านการสื่อสารมวลชนได้กล่าวถึงบทบาทของสื่อสารมวลชน ที่เกี่ยวกับการศึกษาไว้ว่า สื่อมวลชนเปรียบเสมือนครู ที่ให้การศึกษาแก่ประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ให้ทั้งความรู้ทางวิชาการใหม่ๆ และเจตคติในด้านต่างๆ ( Schramm 1964 : 144) ซึ่งถือได้ว่ามีความเป็นจริงอย่างมากในสังคมปัจจุบัน เนื่องจากสื่อมวลชนต่างๆ ได้แสดงบทบาทหน้าที่ทางด้านการศึกษาให้เห็นอย่างเด่นชัด

3 . ให้นิสิตยกตัวอย่างสื่อมวลนเพื่อการศึกษามา 1 รายการ พร้อมอธิบายประโยชน์ของรายการนั้น ๆ
      ตอบ รายการ คุณพระช่วย  รายการนี้เป็นรายการส่งเสริมเรื่องดนตรีไทย มีการจัดเวทีประชันให้เยาวชนที่มีความสามารถด้านดนตรีไทยมาแข่งขันกัน  มีการเล่าเกร็ดความรู้เรื่องดนตรีไทย  มีช่วง  คำนี้มีที่มา (นามนี้มีที่มา)เป็นช่วงที่นำคำต่างๆที่ใช้กันมานานแล้ว เช่น คำว่า ขนมบ้าบิ่น , พระเจ้าเหา , กระต่ายสามขา , เรียบร้อยโรงเรียนจีน ฯลฯ มาบอกเล่าความหมายและที่มาที่ไป ของคำเหล่านี้ โดยมีคุณพระธง และ ครูมืด (อาจารย์ประสาท ทองอร่าม) เป็นผู้เล่าเรื่องราวในช่วงนี้ ต่อมา ได้มีการเปลี่ยนชื่อช่วงเป็น "นามนี้มีที่มา" และยังมีอีกหลากหลายช่วงซึ่งให้เกร็ดความรู้ความเป็นไทยแก่เยาวชนสมัยใหม่อย่างมาก 














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น